ข่าวเทคโนโลยีคณิตศาสตร์

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา นักการศึกษาได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อดึงดูดความสนใจของเยาวชนไทยในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง ในโอกาสครบรอบการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยครบ 30 ปี ในปีนี้ บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้จับมือกองทัพอากาศ สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ) เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์บินอัตโนมัติเพื่อเข้าแข่งขันภายใต้หัวข้อ “ภารกิจท้าทายวิศวกรรมอากาศยาน” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

การแข่งขันหุ่นยนต์บินอัตโนมัติเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเพื่อให้พวกเขาศึกษาและค้นคว้าข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับ การพัฒนาเครื่องบินและอากาศยานอัตโนมัติ “การแข่งขันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมนิสิต นักศึกษาไทย เพื่อก้าวเข้าสู่วิศวกรรมอากาศยานขั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ ทางคณะผู้จัดการแข่งขันยังต้องการสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาเหล่านี้พัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์บินไร้คนขับเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่อากาศยานไร้คนขับต่อไป” รองศาสตราจารย์ ดร.ภูดิส ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขัน เลขานุการสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และหัวหน้าวิจัย สาขา Dynamics and Robotics แห่งศูนย์วิจัยวิศวกรรมคำนวณและทดสอบขั้นสูง การแข่งขันท้าทายบรรดานิสิต นักศึกษาไทยในการสร้างหุ่นยนต์บินไร้คนขับซึ่งจะเข้าร่วมการแข่งขันภายในระยะเวลา 8 นาที โดยบริษัทซีเกทฯ ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน มอบเงินรางวัลรวม 500,000 บาท ให้แก่ทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ขณะที่กองทัพอากาศมอบรางวัลสุดพิเศษคือ ถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมกับนำทีมที่ได้รับรางวัลเยี่ยมศึกษาดูงาน เครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ณ ฐานบินของกองทัพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อต่อยอดความคิดต่อไป

ในการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องพัฒนาหุ่นยนต์จำนวน 2 ประเภทคือหุ่นยนต์บินอัตโนมัติ จำนวน 1 ตัวและหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือ จำนวน 1 ตัว โดยหุ่นยนต์บินอัตโนมัติจะเข้าแข่งขันในสนามเปิดโล่ง ภายนอกอาคาร ส่วนหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือจะเข้าแข่งขันในสนามแข่งขันภายในอาคาร หุ่นยนต์บินอัตโนมัติจะต้องบรรทุกลูกกอล์ฟ จำนวน 1 ลูกก่อนออกจากจุดเริ่มต้น และต้องนำลูกกอล์ฟไปปล่อยในบริเวณที่กำหนดและบินไปยังจุดลงจอดที่กำหนด สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือ ผู้บังคับหุ่นยนต์บินแบบบังคับด้วยมือจะต้องควบคุมหุ่นยนต์อยู่ในห้องควบคุม (Manual Control Room) โดยจะทำการควบคุมระยะไกล ซึ่งผู้ควบคุมสามารถมองเห็นสนามได้จากทางจอควบคุมของทีมเท่านั้น และบังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ เมื่อหุ่นยนต์บินบังคับด้วยมือเข้าถึงเส้นชัย จะต้องทำการเจาะลูกโป่งให้แตก โดยใช้เข็มเจาะเท่านั้น เพื่อหยุดเวลาการแข่งขันของทีมตนเอง การแข่งขันนี้เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เข้าแข่งขันในการสร้างหุ่นยนต์ซึ่งสามารถบินได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้ระบบการนำร่องแบบดาวเทียมหรือเทคโนโลยีแมชชีน วิชั่น (machine vision)

“พาณิชย์” มั่นใจทำผลงานเข้าตา ส่งข้อมูลบี้สหรัฐฯ ปลดไทยออกจากบัญชี PWL

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น